กิจกรรมระหว่างภาคเรียน




เยี่ยมชมดูงานพิพิธภัณฑ์ไทย
คลิกที่รูปเลยจ้าาา..





ดูงานมหกรรมการเงิน Money Expo 2014
คลิกที่รูปเลยจ้าาา..





(กรณีศึกษา)

โครงสร้างองต์กรธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

การจัดองค์การแบบโครงสร้างธนาคารกรุงเทพ


              รูปแบบการจัดองค์การธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL  เป็นโครงสร้างองค์การแบบแมททริกซ์ (Matrix Structure) เป็นการจัดองค์การโดยใช้ทีมงานซ้อนหน้าที่ และหน่วยงานต่างๆขององค์กรหรือการจัดการองค์การที่ผู้ปฏิบัติงานมีนายสองคน หรือต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาสองคน เพราะ องค์การดังกล่าวต้องทำงานหลากหลาย ข้ามหน่วยงานจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นและในสภาพแวดล้อมที่ยุ่งยากซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ตระหนักถึงความสําคัญของการกํากับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการเสริมสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ธนาคารจึงมุ่งส่งเสริมให้การดําเนินกิจการของธนาคารเป็นไปตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี อันจะเป็นพื้นฐานของการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน โดยมีคณะกรรมการธนาคาร มีจํานวนทั้งสิ้น 17 ท่าน โดยเป็นกรรมการอิสระ 6 ท่าน ซึ่งทุกท่านมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยและมีสัญชาติไทย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินกิจการซึ่งประกอบด้วย  คณะกรรมการธนาคาร และคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและกําหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง  เพื่อช่วยใการปฏิบัติหน้าที่ด้านต่างๆ และให้เกิดความมั่นใจว่าได้มีการกำกับควบคุมความเสียงของกิจการและเพื่อรักษาระดับฐานะการเงินของธนาคารให้มีความแข็งแกร่ง มีผลการดําเนินงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง และเสริมสร้างชื่อเสียงอันดีงามให้ดํารงไว้อย่างยั่งยืน ธนาคารจึงมุ่งมั่นที่จะดําเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังรอบคอบ โดยจัดให้มีระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอและเหมาะสมตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี

คณะกรรมการธนาคารได้ส่งเสริมและสนับสนุนการดําเนินการนําหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี มาปรับใช้ให้ครอบคลุมอย่างรัดกุมเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และสภาพการณ์ของธนาคาร ตลอดจนมีการติดตามผล การปฏิบัติตามนโยบายการกํากับดูแลกิจการ จรรยาบรรณและจริยธรรมธุรกิจ รวมทั้งการพิจารณาปรับปรุงทบทวนหลักปฏิบัติและแนวทางที่เกี่ยวข้องให้เกิดความเหมาะสม

ลักษณะการจัดองค์การของธนาคารกรุงเทพ จำกัด ( มหาชน )

1. Organization Chat รวมของทั้งระบบ

คณะกรรมการธนาคาร
                โครงสร้างกรรมการของธนาคารประกอบด้วยคณะกรรมการธนาคาร และคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน  และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ตามรายละเอียดดังนี้

คณะกรรมการชุดย่อย
คณะกรรมการธนาคารได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อทำหน้าที่กลั่นกรอง เสนอความเห็น ติดตามและกำกับดูแลการดำเนินงานของธนาคารตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคารเพื่อช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการชุดย่อยที่ได้รับการแต่งตั้งจะรายงานการปฏิบัติหน้าที่ต่อคณะกรรมการธนาคารอย่างสม่ำเสมอ คณะกรรมการชุดย่อยที่คณะกรรมการธนาคารแต่งตั้งขึ้น ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการบริหาร
            เพื่อปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร
1. ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการธนาคาร ซึ่งรวมถึงการพิจารณาอนุมัติการให้สินเชื่อ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การลงทุนในหลักทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนการดำเนินงานต่างๆ ของธนาคาร อันเป็นการประกอบธุรกิจปกติหรือเกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจปกติของธนาคาร
2. พิจารณาเรื่องต่างๆ ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติหรือความเห็นชอบจากคณะกรรมการธนาคารหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตามกฎหมายหรือข้อบังคับของธนาคาร เช่น เป้าหมาย นโยบาย แผนการดำเนินธุรกิจในด้านต่างๆ และการออกหลักทรัพย์ของธนาคาร เป็นต้น
องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการบริหาร
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2556 คณะกรรมการบริหารประกอบด้วยกรรมการธนาคารที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทําหน้าที่กรรมการบริหารรวม 6 ท่าน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
               - นายโฆสิต    ปั้นเปี่ยมรัษฎ์   ประธานกรรมการบริหาร
               - นายเดชา  ตุลานันท์    รองประธานกรรมการบริหาร
              -  นายอมร  จันทรสมบูรณ์   กรรมการบริหาร

              - นายชาติศิริ   โสภณพนิช  กรรมการบริหาร
คณะกรรมการตรวจสอบ
วัตถุประสงค์ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการช่วยแบ่งเบาภารกิจของคณะกรรมการธนาคารเกี่ยวกับการสอบทานรายงานทางการเงิน การควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน รวมทั้งการพิจารณาคัดเลือกและการประสานงานกับผู้สอบบัญชีของธนาคาร
องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยกรรมการอิสระจำนวน 4 ท่าน ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายด้าน ได้แก่ ด้านการบัญชีและการเงิน ด้านกฎหมาย และด้านการบริหารองค์กร ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบทุกท่านไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในคณะกรรมการชุดย่อยอื่นๆ
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
วัตถุประสงค์ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณาคัดเลือกและเสนอชื่อต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการธนาคาร กรรมการชุดย่อยต่างๆ และผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนกำหนดค่าตอบแทนที่เหมาะสม
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
1. กำหนดนโยบายต่างๆ ดังนี้
                     (1) นโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการในการสรรหากรรมการ และผู้บริหารระดับสูง ตั้งแต่ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป
                      (2) นโยบายและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น รวมถึงจำนวนค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นที่ให้แก่กรรมการและผู้บริหารระดับสูง ตั้งแต่ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป
ทั้งนี้ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการธนาคารพิจารณาอนุมัติ
2. คัดเลือกและเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการธนาคาร
                     (1) กรรมการ
                     (2) กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงจากคณะกรรมการธนาคาร
                    (3) ผู้บริหารระดับสูง ตั้งแต่ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป
3. ดูแลให้คณะกรรมการธนาคารมีขนาดและองค์ประกอบที่เหมาะสมกับองค์กร รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคณะกรรมการธนาคารประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในด้านต่างๆ
4. ดูแลให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูง ตั้งแต่ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ขึ้นไปของธนาคาร ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่ตนมีต่อธนาคาร โดยกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายนั้น
5. กำหนดแนวทางการประเมินผลงานของกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ตั้งแต่ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ขึ้นไป เพื่อพิจารณาปรับผลตอบแทนประจำปี โดยได้คำนึงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงให้ความสำคัญกับการเพิ่มมูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นในระยะยาวประกอบการพิจารณาประเมินผลด้วย
                6. เปิดเผยรายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนไว้ในรายงานประจำปีของธนาคาร
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
วัตถุประสงค์ เพื่อปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลในเรื่องการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปอย่างมีระบบและต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของธนาคารและนโยบายบริหารความเสี่ยงโดยรวม
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
               1. กำหนดนโยบายเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการของธนาคาร เพื่อพิจารณาในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงโดยรวม ซึ่งต้องครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงด้านเครดิต ความเสี่ยงจากตลาด ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ และความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของกิจการ เป็นต้น
               2. วางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารความเสี่ยง โดยสามารถประเมิน ติดตาม และดูแลปริมาณความเสี่ยงของธนาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
               3. ทบทวนความเพียงพอของนโยบายและระบบการบริหารความเสี่ยง โดยรวมถึงความมีประสิทธิผลของระบบและการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนด
               4. ให้ข้อเสนอแนะในสิ่งที่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อคณะกรรมการธนาคารเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ที่คณะกรรมการธนาคารกำหนด

2. Organization Chat ของสายงานต่างๆ

ธนาคารจะแบ่งกลุ่มงานตามลักษณะตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
สายบริหารความเสี่ยง
ทาหน้าที่วิเคราะห์และรายงานสถานะความเสี่ยงของธนาคารในด้านต่างๆ ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาปรับปรุงนโยบายด้านความเสี่ยงโดยรวมของธนาคาร และเพื่อรองรับกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ รวมทั้งมาตรฐานสากล ตลอดจนดูแลการบริหารความเสี่ยงด้านต่างๆ ให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
สายบริหารสินเชื่อ
ทาหน้าที่บริหารความเสี่ยงด้านเครดิต โดยกากับดูแลและติดตามการอานวยสินเชื่อให้เป็นไปตามนโยบายสินเชื่อของธนาคาร สายงานนี้ประกอบด้วย หน่วยงานต่างๆ คือ หน่วยงานนโยบายสินเชื่อ หน่วยงานกลั่นกรองสินเชื่อ หน่วยงานบริหาร Portfolio หน่วยงานสอบทานสินทรัพย์เสี่ยง หน่วยงานบริหารสินเชื่อพิเศษ หน่วยงานประนอมหนี้และกฎหมาย และหน่วยงานทรัพย์สิน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีหน้าที่และความรับผิดชอบ สรุปได้ดังต่อไปนี้
หน่วยงานนโยบายสินเชื่อ มีหน้าที่ดูแลโครงสร้างนโยบายสินเชื่อ ประสานงานในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเผยแพร่นโยบายมาตรฐาน และกระบวนการสินเชื่อ ติดตามดูแลกรณีไม่เข้าเกณฑ์ของนโยบายสินเชื่อ และรวบรวมความคิดเห็นต่างๆ เพื่อนามาพิจารณาปรับปรุงนโยบายสินเชื่อ
หน่วยงานกลั่นกรองสินเชื่อ มีหน้าที่กลั่นกรองสินเชื่อที่นาเสนอโดยสายธุรกิจต่างๆ ดูแลให้การอานวยสินเชื่อเป็นไปตามนโยบายและมาตรฐานการพิจารณาสินเชื่อ มีโครงสร้างสินเชื่อที่เหมาะสม ทบทวนผลการจัดระดับความเสี่ยงสินเชื่อของลูกค้า รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมสินเชื่อที่ดี และกระบวนการอานวยสินเชื่อมีระบบและเชื่อถือได้
 หน่วยงานบริหาร Portfolio มีหน้าที่วิเคราะห์และเสนอแนะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ Portfolio การกาหนดสัดส่วนที่เหมาะสมของ Portfolio และการตั้งสารองหนี้สูญในระดับ Portfolio พัฒนาและดูแลเครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อ สร้างฐานข้อมูลด้านสินเชื่อ ตลอดจนควบคุมดูแลมาตรฐานการจัดการที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานสอบทานสินทรัพย์เสี่ยง มีหน้าที่สอบทานกระบวนการบริหารสินเชื่อและคุณภาพสินเชื่อ ประเมินความเพียงพอของการตั้งสารองหนี้สูญ และประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย กฎระเบียบ และมาตรฐานการพิจารณาสินเชื่อ
หน่วยงานบริหารสินเชื่อพิเศษ มีหน้าที่ดูแลบริหารจัดการหนี้ด้อยคุณภาพ กาหนดกลยุทธ์พร้อมทั้งดาเนินการแก้ไขและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
หน่วยงานประนอมหนี้และกฎหมาย มีหน้าที่ดาเนินการให้มีการฟ้องร้องหรือประนีประนอมยอมความหรือยึดทรัพย์ขายทอดตลาด
หน่วยงานทรัพย์สิน ทาหน้าที่บริหารและขายทรัพย์สินรอการขายที่ได้รับมาจากกระบวนการประนอมหนี้ และการฟ้องร้อง

3. Organization Chat ของฝ่ายต่างๆ ในสำนักงานใหญ่

            ฝ่ายต่างๆ จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบตาม Functional ของฝ่ายที่ได้รับมอบหมาย โดยจะมีจุดประสงค์ การดำเนินงานตามเป้าหมายที่ได้มีการกำหนดของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยมีคณะกรรมการธนาคารซึ่งได้รับการรับเลือกจากผู้ถือหุ้นทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงาน ของแต่ละฝ่ายงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน


4. Organization Chat ของสำนักงานเขตและสาขา

ธนาคารกรุงเทพมีสาขาทั้งหมด 957 สาขา โดยแบ่งเป็น
          - สาขาในประเทศไทย  253  สาขา
          - สาขาในต่างจังหวัด  680  สาขา
          - สาขาในต่างประเทศ  24  สาขา ได้แก่
China
            - Beijing            1  สาขา
            - Fujian             1  สาขา
            - Guangdong      1  สาขา
            - Shanghai         1  สาขา
Hong Kong
            - Central            2  สาขา
            - Kowloon         1  สาขา
Indonesia
            - Jakarta            1  สาขา
Japan
            - Osaka             1  สาขา
            - Tokyo             1  สาขา
Lao
            - Vientiane        1  สาขา
Malaysia
            - Johor              2  สาขา
            - Kuala Lumpur 1  สาขา
Myanmar
            - Yangon           1  สาขา
Philippines
            -Metro Manila    1  สาขา
Singapore
            - Singapore        1  สาขา
Taiwan
            - Kaohsiung       1  สาขา
            - Taichung         1  สาขา
United Kingdom
            - London           1  สาขา
USA
            - New York       1 สาขา
Vietnam
            - Hanoi             1  สาขา


            - Ho Chi Minh City        1  สาขา

ที่มา : รายงานประจำปี ธนาคารกรุงเทพ ปี 2556 และ http://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/WebServices/LocateUs/Pages/default.aspx
          




อัตราดอกเบี้ย ธนาคารกรุงเทพ


อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก  >>> คลิก


อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ  >>> คลิก


ดอกเบี้ย คือ
          -  ผลตอบแทนที่ผู้ฝากเงินได้รับจากการฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน หรือที่เรียกว่า ดอกเบี้ยเงินฝาก
          -  ผลตอบแทนที่ผู้ให้สินเชื่อได้รับจากผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งในกรณีนี้จะหมายถึง สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) หรือที่เรียกว่า ดอกเบี้ยเงินกู้
          -  ผลตอบแทนอาจอยู่ในรูปของตัวเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่คิดคำนวณเป็นเงินได้ เช่น ธนาคารพาณิชย์แจกของสมนาคุณให้กับลูกค้า อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เป็นต้น
          -  เพื่อจูงใจให้ฝากเงินไว้กับธนาคาร ดังนั้น การคำนวณดอกเบี้ยที่ได้รับแท้จริงต้องรวมมูลค่าของสมนาคุณด้วย
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก คือ
อัตราดอกเบี้ยร้อยละต่อปีที่สถาบันการเงินจ่ายให้กับผู้ฝากเงิน เพื่อเป็นค่าตอบแทนที่ผู้ฝากนำเงินมาเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับสถาบันการเงิน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีหลายประเภท หลายอัตรา โดยขึ้นกับระยะเวลาการฝากเงินและเงื่อนไขการถอนเงิน เช่น อัตราดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่สามารถถอนเงินได้ตลอดเวลา จึงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน เป็นต้น
 ทั้งนี้ เมื่อท่านเลือกจะบริหารเงินโดยการฝากเงิน ควรเลือกประเภทการฝากเงินที่เหมาะสมกับรูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) ของท่าน เพื่อที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฝากเงินนั้น
อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ (ดอกเบี้ยอ้างอิง)
หมายถึง อัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่ธนาคารพาณิชย์ใช้อ้างอิงในการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ จากลูกค้า ได้แก่
          1.  MLR (Minimum Loan Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ
          2.  MOR (Minimum Overdraft Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี
          3.  MRR (Minimum Retail Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น
การเลือกดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ (ดอกเบี้ยอ้างอิง)
          > พิจารณาความถูก - แพง ของอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง
          > ดูความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยย้อนหลัง โดยควรเลือกประเภทที่มีความผันผวนน้อย เพราะสามารถบริหารจัดการหนี้ได้ง่ายกว่า
          > พิจารณาความมั่นคงของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง เช่น ฐานะเงินกองทุน อัตราส่วนกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และปริมาณเงินสำรอง เป็นต้น


http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/interest/Pages/interest1.aspx


เก็บตกการแสดงละคร " BLL "

              


              


อยากชมพวกเราแสดง ลิงค์นี้ กดเลย รับประกันความฮา!!
https://www.facebook.com/photo.php?v=10202154210718018&set=o.184644895049687&type=2&theater





กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของธนาคาร
ความโดดเด่นของธนาคารกรุงเทพนอกเหนื่อจากประสิทธิภาพในการทำกำไรสุทธิเป็นอันดับ 3 ของระบบธนาคารพานิชย์แล้ว ธนาคารยังคงมุ่งเน้นในเรื่องของความแข็งแกรงและความมั่นคงในฐานะการเงิน โดยธนาคารได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ส่งผลให้ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่ออยู่ในอัตราที่สูง 5.12 % รวมทั้งยังดำรงกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงรวมทั้งสิ้น 16.92% โดยมรเงินกองทุนขั้นที่ 1 ที่ 14.40% และขั้นที่ 2 ที 2.52
ทั้งนี้ ธนาคารได้กำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานให้สอดคล้องกับโอกาสและการเปลียนแปลงที่ต่อเนื่อง โดยผสมผสานระหว่างการบริหารงานด้วยความระมัดระวังรอบคอบเพื่อให้มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง แต่พร้อมที่จะเดิบโตเมื่อโอกาสเอื้ออำนวย
โดยปี 2556 ที่ผ่านมา ธนาคารมีการเจริญเติบโตจากลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งลูกค้าธุรกิจรายใหญ่ ลูกค้าธุรกิจรายกลางและรายปลีก ลูกค้าบุคคล และลูกค้าต่างประเทศ เนื่องจากธนาคารมีการติดตามดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด ทำให้ธนาคารสามารถคาดการณ์ความต้องการด้านต่างๆ ของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในปี 2557 ธนาคารพร้อมที่จะเติบโตเคียงข้างไปกับลูกค้าสมกับปฎิธานที่ได้ยึดถือมาโดยตลอด คือ เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน
ขณะเดียวกัน ก็พร้อมที่จะรองรับสถานการณ์และความผันผวนต่างๆ ที่ไม่คาดคิดซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้นของประเทศพัฒนาแล้ว การชะลอลงของเศรษฐกิจสำคัญในเอเชีย การรวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียน หรือแม้แต่ปรากฎการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยล้วนทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ต่อไป ธนาคารกรุงเทพพร้อมที่จะสนับสนุนลูกค้าให้สามารถเคลื่อนผ่านกระบวนการปรับตัวนี้ได้อย่างราบรื่น และก้าวสู่อนาคต
กลยุทธ์ทางการตลาดของธนาคาร
1. ธนาคารกรุงเทพสนับสนุนลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค การแข่งขันที่เพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของต้นทุนแรงงานในประเทศไทย รวมถึงความจำเป็นในการยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่ห่วงโซ่คุณค่าที่สูงขึ้นธนาคารให้คำแนะนำและสนับสนุนลูกค้าในการเตรียมพร้อมที่จะรุกสู่โอกาสใหม่ๆ ที่รออยู่ข้างหน้า และสิ่งที่ธนาคารได้ทำแล้วคือ การส่งเสริมให้ลูกค้า ขยายธุรกิจไปนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา ลาว เมียนมาร์เวียดนาม และจีนตอนใต้ รวมถึงอินโดนีเซีย ด้วยความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับลูกค้า และการมีเครือข่ายในต่างประเทศ รวมทั้งความรู้ความเข้าใจในธุรกิจของลูกค้าและอุตสาหกรรมในภาพรวม ทำให้ธนาคารมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งช่วยสนับสนุนให้ธนาคารก้าวรุดหน้าเคียงคู่กับลูกค้าในการแสวงหาโอกาสใหม่ที่เกิดขึ้น
2. สายงานลูกค้าบุคคลมุ่งเน้นการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอาชีพ อายุ และรายได้ธนาคารได้จัดกลุ่ม ลูกค้า ให้ชัดเจนขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าใจและนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการ รวมถึงคำแนะนำด้านการลงทุนและการบริหารเงินเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ธนาคารจะยังคงลงทุนอย่างต่อเนื่องทั้งการเปิดสาขาใหม่ และการเพิ่มช่องทางดิจิตอลต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถตอบสนองวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของลูกค้า รวมทั้งปรับปรุงภาพลักษณ์ของสาขาและนำเสนอบริการใหม่ๆทั้งที่สาขา จุดรับชำระเงิน เครื่องเอทีเอ็ม และสื่อสังคมออนไลน์ ในส่วนของบัตรเครดิต ธนาคารจะขยายความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อนำเสนอสิทธิประโยชน์และเพิ่มคุณค่าของบัตรให้กับลูกค้า นอกจากนี้ธนาคารจะเสริมสร้างความผูกพันกับคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง เช่นกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ผ่านการนำเสนอบัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ของธนาคารในรูปแบบบัตรประจำตัวนักเรียนนักศึกษา ที่สามารถใช้เป็นบัตรเดบิตบัตรเอทีเอ็ม และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในบัตรเดียว ซึ่งปัจจุบันธนาคารเป็นผู้นำในด้านนี้ ธนาคารยังคงแนวทางการให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการการเงินแก่ลูกค้าเนื่องจากธนาคารเชื่อว่าหากลูกค้ามีความรู้และเข้าใจการเลือกลงทุนจะส่งผลดีต่อลูกค้าในระยะยาว และจะทำให้ลูกค้าเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของตนเองได้ดีขึ้น ประกอบกับความสำเร็จของโครงการ “การเงินมั่นคงกับครอบครัวบัวหลวง” ดังนั้น ธนาคารจะสานต่อความสำเร็จ ดังกล่าวเพื่อตอกย้ำความเป็นเพื่อนคู่คิดทางการเงินของคนไทย
กลยุทธ์ใ นการให้ความรูดั้งกล่าวประกอบกับคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการที่ดี การคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก ส่งผลให้ลูกค้าเลือกใช้บริการของธนาคารกรุงเทพอย่างสมํ่าเสมอในระยะยาว ธนาคารมุ่งเน้นการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทั้งธุรกิจไทยที่ต้องการขยายกิจการไปต่างประเทศ ธุรกิจข้ามชาติซึ่งมีความสัมพันธ์กับธนาคารมายาวนาน เช่น ลูกค้าชาวจีนที่อยู่ใน ฮ่องกงไต้หวัน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น และลูกค้าที่เป็นคนท้องถิ่นในประเทศที่ธนาคารให้บริการ
3. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่กำลังเติบโตสูง จึงดึงดูดนักลงทุนทั้งในและนอกภูมิภาค ขณะเดียวกัน ธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารไทยเพียงแห่งเดียวที่มีเครือข่ายสาขาครอบคลุมเขตเศรษฐกิจทั่วทั้งภูมิภาคดังนั้น ธนาคารจะขยายธุรกิจในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญและเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับโอกาสในการขยายธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญทั้งกับกลุ่มลูกค้าในประเทศที่ต้องการขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศและลูกค้าต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพื่อต่อยอดและขยายฐานธุรกิจในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยโอกาสแห่งการเติบโต
ธนาคารจะกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของสาขาต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดที่มีการเติบโตสูง โดยเน้นการให้บริการทางการเงินที่ครอบคลุม และการประสานงานระหว่างสาขาต่างประเทศและสายงานธุรกิจในประเทศ นอกจากนี้ ธนาคารจะพัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางบริการใหม่ๆ รวมถึงขยายเครือข่ายสาขาต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรุกสู่อนาคตใหม่ที่ท้าทาย
ที่มา : http://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/Documents/Site%20Documents/Annual%20Report/2013/AR2013_Th.pdf
ช่องทางการจัดจำหน่ายของธนาคาร
ธนาคารมีช่องทางการให้บริการที่ครอบคลุมและทันสมัย โดยธนาคารเป็นหนึ่งในผู้นำในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งในด้สนจำนวนสาขาที่ให้บริการ เครือข่ายเอทีเอ็มและเครื่องรับฝากเงินสดอัตโนมัติ ทั้งนี้ นอกจากเครือข่ายสาขาที่ให้บริการเป็นหลักแล้ว ธนาคารได้พัฒนาช่องทางการให้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ เครื่องเอทีเอ็ม เครื่องรับฝากเงินสดอัตโนมัติ บริการธนาคารทางโทรศัพท์ และบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงยังมีการเปิดสำนักธุรกิจและสำนักธุรกิจย่อยจำนวนมากเพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าธุรกิจ
เครือข่ายสาขาและสำนักธุรกิจ
ธนาคารมีการประเมินโอกาสทางธุรกิจและพัฒนาเครือข่ายสาขาอย่างต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 ธนาคารมีสาขาจำนวน 1,157 แห่งให้บริการลูกค้าทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารได้พัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานของสาขาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและลดตันทุนด้านการปฏิบัติการ
นอกเหนือจากเครือข่ายสาขาแล้ว ธนาคารยังได้ให้บริการแก่ลูกค้าธุรกิจรายกลางและรายปลีกผ่านสำนักธุรกิจและสำนักธุรกิจย่อยจำนวน 236 แห่งทั่วประเทศ โดยในแต่ละสำนักธุรกิจจะมีผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์และเจ้าหน้าที่ธุรกิจสัมพันธ์ให้บริการลูกค้าอย่างครบวงจร ทั้งนี้ในส่วนของสำนักธุรกิจย่อยซึ่งมีขนาดเล็กกว่าและส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดนั้นก็จะมีการให้บริการในลักษณะเดียวกันกับสำนักธุรกิจ ทั้งนี้นอกจากสาขาในประเทศแล้ว ธนาคารยังมีการให้บริการผ่านสาขาต่างประเทศจำนวน 26 แห่งและสำนักงานตัวแทน 1 แห่งใน 13 เขตเศรษฐกิจที่สำคัญ
จุดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ธนาคารให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยมีจุดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 84 แห่งกระจายทั่วประเทศ เพื่อให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว นอกจากนี้ธนาคารได้ร่วมมือกับเวสเทิร์นยูเนี่ยนให้บริการโอนเงินผ่านเครือข่ายของเวสเทิร์นยูเนี่ยนที่ครอบคลุมจุดบริการกว่า 500,000 แห่งในกว่า 200 ประเทศทั่วโลก โดยลูกค้าในประเทศไทยสามารถใช้บริการดังกล่าวได้ที่จุดบริการของธนาคารกรุงเทพกว่า 1,100 แห่งทั่วประเทศ ทั้งที่สาขาและสำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เครือข่ายเอทีเอ็มและเครื่องรับฝากเงินสดอัตโนมัติ
ธนาคารได้พัฒนาการให้บริการและติดตั้งเครือข่ายเอทีเอ็มทั่วประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ในปี 2556 ธนาคารมีเครื่องเอทีเอ็มกว่า 8,470 เครื่อง และเครื่องรับฝากเงินสดอัตโนมัติกว่า 1,140 เครื่องซึ่งให้บริการ 24 ชั่วโมง โดยมีเครือข่ายที่ครอบคลุททุกสาขาของธนาคาร รวมถึงสถานที่ต่างๆ ทั้งในเขตนครหลวงและในต่างจังหวัด เช่น ร้านสะดวกซื้อ ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน สนามบิน สถานศึกษา และสถานที่ราชการ เป็นต้น ทั้งนี้ ลูกค้าสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรบีเฟิสต์ในการทำธุรกรรมที่หลากหลายจากเครื่องเอทีเอ็มของธนาคาร เช่น การถอนเงินสด การโอนเงินระหว่างบัญชีเงินฝากทั้งของธนาคารและต่างธนาคาร การชำระค่าสินค้าและบริการ การชำระค่าซื้อหน่วยลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ เครื่องเอทีเอ็มยังสามารถให้บริการบัตรของธนาคารอื่นในเครือข่าย NITMX และบัตรจากต่างประเทศเช่น VISA / Master Card / UnionPay / American Express / JBC / Pongsawan Bank เป็นต้น
ศูนย์ธนาคารทางโทรศัพท์
ธนาคารจัดตั้งศูนย์ธนาคารทางโทรศัพท์เพื่อเพิ่มทางเลือกของช่องทางในการทำธุรกรรมทางการเงินให้แก่ลูกค้า นอกเหนือจากการให้บริการที่สาขา โดยลูกค้าสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านศูนย์ธนาคารทางโทรศัพท์ เช่น การโอนเงินระหว่างบัญชี การโอนเงินให้บุคคลที่สามซึ่งมีบัญชีกับธนาคาร การชำระเงินที่ใช้จ่ายโดยบัตรเครดิต การชำระค่าสินค้าและบริการตามที่ตกลง การชำระภาษี การซื้อขายกองทุนเปิด การทำรายการหรือขอบริการเกี่ยวกับบัญชีของตนเอง เป็นต้น นอกจากนี้ลูกค้ายังสามารถสอบถามข้อมูลและสถานภาพของบัญชี รวมทั้งข้อมูลอื่นๆของธนาคาร
ศูนย์ธนาคารทางโทรศัพท์ยังให้บริการสนับสนุนลูกค้าซึ่งใช้บริการผ่านช่องทางอื่นๆของธนาคาร เช่น ลูกค้าที่ใช้บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น รวมถึงการให้คำแนะนำและเสนอขายบริการต่างๆ แก่ลูกค้าของธนาคาร
บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่
เนื่องจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ธนาคารจึงได้พัฒนานวัตกรรมและช่องทางการให้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองพฤติกรรมและความต้องการทางการเงินของลูกค้า โดยบริการบัวหลวงไอแบงก์กิ้งเป็นบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในการทำธุรกรรมทางการเงินได้แบบออนไลน์ เช่น การโอนเงินระหว่างบัญชีตนเอง โอนเงินไปยังบัญชีบุคคลอื่นทั้งของธนาคารกรุงเทพและต่างธนาคาร บริการอายัดเช็คและสมุดคู่ฝาก บริการสั่งซื้อสมุดเช็คแบบออนไลน์ รวมถึงบริการชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น นอกจากนี้ ธนาคารยังให้บริการบัวหลวง เอ็มแบงก์กิ้ง ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งลูกค้าจะสามารถตรวจสอบยอดเงินและรายการเคลื่อนไหวทางบัญชี โอนเงิน ชำระเงิน และค้นหาที่ตั้งสาขาและเอทีเอ็มของธนาคาร
บริการทางการเงินออนไลน์สำหรับลูกค้าธุรกิจ
ธนาคารได้พัฒนาและนำเสนอบริการทางการเงินออนไลน์ที่หลากหลายและน่าเชื่อถือได้เพื่อสนับสนุนลูกค้าธุรกิจในประเทศ โดยลูกค้าธุรกิจรายกลางและรายปลีกสามารถใช้บริการทางการเงินออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ตด้วยบริการ บิซ ไอแบงก์กิ้ง (Biz iBanking) เพื่อตรวจสอบการเคลื่อนไหว และบริหารบัญชีได้ด้วยตนเองทุกวัน เช่น การโอนเงิน การชำระค่าสินค้าและบริการ และการจ่ายเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น และในปี 2556 ธนาคารได้เพิ่มบริการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมผ่านบริการ บิซ ไอแบงก์กิ้ง (Biz iBanking) ทั้งนี้ ธุรกรรมการเงินผ่านบริการ บิซ ไอแบงก์กิ้ง (Biz iBanking) มีระบบมาตรฐานความปลอดภัยด้วยเครื่องโทเค็น (Token) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ออกรหัสลับใหม่ให้ทุกครั้งเมื่อต้องการเข้าสู่ระบบ
บริการบัตรเครดิต บัตรเดบิต และเครือข่ายจุดการให้บริการ (Point-of-Sales)
ธนาคารมุ่งมั่นที่จะขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิตโดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุก เช่น การเสนอสิทธิประโยชน์หลากหลายสำหรับผู้ถือบัตร ในขณะเดียวกันยังคงรักษาความสัมพันธ์และการให้บริการกับลูกค้าคุณภาพที่มีอยู่อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ธนาคารได้นำเทคโนโลยีชิพอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยสูง มาใช้กับบัตรเครดิตของธนาคาร
ในส่วนของบัตรเดบิต ธนาคารได้นำเสนอบัตรเดบิตบีเฟิสต์สมาร์ทพร้อมเทคโนโลยีชิพ EMVเป็นธนาคารแรกของประเทศไทย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้บัตรให้ลูกค้ามากยิ่งขึ้น รวมถึงการนำเสนอบัตรบีเฟิสต์สมาร์ท สำหรับนักเรียนนักศึกษา ที่สามารถใช้เป็นบัตรประจำตัวนักเรียน บัตรเดบิต บัตรเอทีเอ็ม และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ในบัตรเดียว
สำหรับลูกค้าธุรกิจ ธนาคารได้นำเสนอผลิตภัณฑ์บัตรเดบิต Purchasing Card ซึ่งเป็นบัตรเดบิตที่ธนาคารออกร่วมกับองค์กรต่างๆ ทั้งองค์กรของรัฐและ บริษัทค้าส่งและค้าปลีกในกลุ่มธุรกิจต่างๆ สำหรับใช้ชำระค่าสินค้าบริการภายในประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้เงินสด และเพิ่มความสะดวกตลอดจนความปลอดภัยในการชำระเงินของลูกค้าทั้งลูกค้าธุรกิจและลูกค้าบุคคลของธนาคาร
ที่มา : http://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/Documents/Site%20Documents/For%20Shareholder/56-1_2556.pdf
การส่งเสริมการตลาดของธนาคาร
ธนาคารกรุงเทพมุ่งมั่นสร้างสรรค์สังคมด้วยเจตนารมณ์ของ “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน” ตลอดมา นอกจากการให้บริการทางการเงินครบวงจรเพื่อสนับสนุนลูกค้าทั้งในชีวิตประจำวัน และการดำเนินธุรกิจแล้ว ธนาคารยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สังคมและประเทศชาติผ่านกิจกรรมหลากหลาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านการดูแลพนักงาน กิจกรรมเพื่อสังคมที่ธนาคารกรุงเทพดำเนินการและสนับสนุน ล้วนมีเป้าประสงค์ที่มุ่งสร้างประโยชน์โดยตรงและยั่งยืนให้แก่ประชาชนในวงกว้าง เพื่อสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของสังคม ไม่เพียงยืนหยัดได้อย่างมั่นคง หากยังสามารถหยิบยื่นความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลไปให้ผู้ที่กำลังต้องการความช่วยเหลือได้ ซึ่งจะส่งผลให้สังคมและประเทศชาติมีความแข็งแรงและมั่นคงอย่างยั่งยืนในที่สุด
* ด้านเศรษฐกิจและภาคธุรกิจ การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเปรียบเสมือนการสร้างเครื่องมือที่จำเป็นในการดำรงชีพให้แก่ประชาชนในสังคม ในขณะเดียวกันก็ช่วยเสริมสร้างสังคมให้มีความเข้มแข็งด้วย ธนาคารกรุงเทพมุ่งมั่นส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างสมดุล โดยจัดการอบรม ส่งเสริมการศึกษา และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ที่สนใจ * ด้านการศึกษา เพราะเชื่อว่าการส่งเสริมคนรุ่นใหม่ที่ทั้ง “เก่ง” และมี “จริยธรรม” คือการลงทุนเพื่ออนาคตที่ดีที่สุด ธนาคารกรุงเทพจึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตลอดมา อาทิ โครงการสร้างอาคารเรียนธนาคารกรุงเทพทั่วประเทศ * ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ศิลปะและวัฒนธรรมไทยคือองค์ประกอบสำคัญในการเผยแพร่และรักษา อัตลักษณ์ของประเทศ ธนาคารกรุงเทพจึงมุ่งมั่นส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมไทยอย่างต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี ไม่ว่าจะเป็น การจัดประกวดและนิทรรศการภาพเขียนจิตรกรรม บัวหลวง และกิจกรรมของศูนย์สังคีตศิลป์ อีกทั้งยังให้การสนับสนุนศิลปะและวัฒนธรรมรูปแบบอื่นๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก อาทิ การเป็นผู้สนับสนุนหลักการประกวด “วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน” หรือ “รางวัลซีไรต์” และมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติ ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน * เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ธนาคารกรุงเทพซาบซึ้งและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงมีต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างที่หาที่สุดมิได้ ธนาคารได้ร่วมในกิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เสมอ ตลอดจน สนับสนุนโครงการตามแนวทางพระราชดำริต่างๆ อันอำนวยประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง
* ทำนุบำรุงศาสนา ด้วยตระหนักดีว่าสังคมไทยมีศาสนาเป็นศูนย์รวมและที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ธนาคารกรุงเทพจึงให้ความสำคัญแก่การส่งเสริมและทำนุบำรุงพุทธศาสนา ตลอดจนสนับสนุนทุกศาสนาหลักในประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างรากฐานทางสังคมที่แข็งแกร่งและเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม * ด้านสาธารณกุศลและการบรรเทาสาธารณภัย ด้วยตระหนักดีถึงลักษณะของสังคมที่มีความหลากหลาย ธนาคารกรุงเทพมุ่งมั่นในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนต่างๆ อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะโดยให้การสนับสนุนแก่องค์กรสาธารณกุศลต่างๆ และสนับสนุนดำเนินการเพื่อบรรเทาสาธารณภัย และแบ่งปันน้ำใจแก่ผู้ประสบภัยทั้งในประเทศและทั่วโลก * ด้านสิ่งแวดล้อม ธนาคารกรุงเทพส่งเสริมให้ภาคธุรกิจดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยให้การ สนับสนุนหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อพิเศษ หรือการส่งเสริมการฟื้นฟูและปกป้องสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ และปฏิบัติตามมาตรการลดปริมาณการใช้พลังงานในการปฏิบัติงานประจำวัน * ด้านพนักงาน ด้วยเป้าหมายสำคัญในการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่พนักงาน พร้อมทั้งส่งเสริม แนวทางการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมและมีความพึงพอใจต่อการทำงาน ธนาคารกรุงเทพจึงยึดถือ ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณในการดูแลพนักงานอย่างเคร่งครัด ในขณะเดียวกัน ธนาคารได้ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ด้วย

ที่มา : http://www.bangkokbank.com/





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น